รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย
สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย
- - คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 2,138,155 คน (ร้อยละ 3.23 ของประชากรทั้งประเทศ)
****ข้อมูลประชากรประเทศไทยจาก สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 - - คนพิการ เพศชาย จำนวน 1,117,056 (ร้อยละ 52.24) และเพศหญิง จำนวน 1,021,099 คน (ร้อยละ 47.76)
ประเภทความพิการ
- ลำดับที่ 1 ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 1,082,795 คน (ร้อยละ 50.64)
- ลำดับที่ 2 ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 398,659 คน (ร้อยละ 18.65)
- ลำดับที่ 3 ทางการเห็น จำนวน 185,523 คน (ร้อยละ 8.68)
- ลำดับที่ 4 ทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 166,503 คน (ร้อยละ 7.79)
- ลำดับที่ 5 ทางสติปัญญา จำนวน 145,514 คน (ร้อยละ 6.81)
- ลำดับที่ 6 พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 124,065 คน (ร้อยละ 5.80)
- ลำดับที่ 7 ออทิสติก จำนวน 18,737 คน (ร้อยละ 0.88)
- ลำดับที่ 8 ทางการเรียนรู้ จำนวน 14,502 คน (ร้อยละ 0.68)
- ลำดับที่ 9 ข้อมูลรอการยืนยัน จำนวน 1,857 คน (ร้อยละ 0.09)
- รวม จำนวน 2,138,155 คน (ร้อยละ 100.00)
วิเคราะห์ตามอายุและประเภทความพิการ
- - คนพิการอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,205,184 คน ร้อยละ 56.37 (ของจำนวนคนพิการทั้งหมด )
- - คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15 - 59 ปี มีจำนวน 855,025 คน ร้อยละ 39.99 (ของจำนวนคนพิการทั้งหมด )
- - คนพิการที่มีอายุระหว่าง 15 - 59 ปี และคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.00 และร้อยละ 57.37 ของจำนวนคนพิการ อายุ 15 – 59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ตามลำดับ
- - คนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (0 - 21 ปี) มีอัตราส่วนของคนพิการทางสติปัญญามากที่สุด จำนวน 45,629 คน คิดเป็นร้อยละ 30.28 ของจำนวนคนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (0 - 21 ปี) ทั้งหมด
สาเหตุความพิการ
- อันดับที่ 1 แพทย์ไม่ระบุสาเหตุความพิการ ร้อยละ 44.78
- อันดับที่ 2 ไม่ทราบสาเหตุ 25.43
- อันดับที่ 3 ความเจ็บป่วย/โรคอื่น ๆ ร้อยละ 21.14
- อันดับที่ 4 อุบัติเหตุ ร้อยละ 7.90
- อันดับที่ 5 กรรมพันธุ์ / พันธุกรร ร้อยละ 0.70 อันดับที่ 6 พิการแต่กำเนิด ร้อยละ 0.05
การศึกษาของคนพิการ
- - คนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 24,888 คน คิดเป็นร้อยละ 1.16 (ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ) แบ่งเป็น
- - อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียน จำนวน 1,243 คน (ร้อยละ 4.99 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - คนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 14,339 คน (ร้อยละ 57.61 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - และเป็นคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 9,306 คน (ร้อยละ 38.39 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - คนพิการที่ได้รับการศึกษา จำนวน 1,673,649 คน คิดเป็นร้อยละ 78.28 (ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ)
- อันดับที่ 1 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา จำนวน 1,360,028 คน (ร้อยละ 81.26)
- อันดับที่ 2 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา จำนวน 199,741 คน (ร้อยละ 11.93)
- อันดับที่ 3 ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา จำนวน 41,789 คน (ร้อยละ 2.50)
- อันดับที่ 4 ระดับการศึกษา อุดมศึกษา จำนวน 10,848 คน (ร้อยละ 1.74)
- อันดับที่ 5 ระดับการศึกษา ไม่ระบุการศึกษา จำนวน 16,855 คน (ร้อยละ 0.65)
คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน
- คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 15 - 59 ปี) จำนวน 855,025 คน
- 1. คนพิการที่ประกอบอาชีพ จำนวน 312,096 คน ร้อยละ 36.50 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
- 2. คนพิการที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่แจ้งว่าไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 69,250 คน ร้อยละ 8.10 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
- 3. คนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (เนื่องจากพิการมากชว่ ยเหลือตนเองไม่ได้) จำนวน 52,181 คน ร้อยละ 6.10 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
- 4. คนพิการที่ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลและไม่ระบุข้อมูลด้านอาชีพ จำนวน 421,498 คน ร้อยละ 49.30 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
- 5. การประกอบอาชีพของคนพิการ เกษตรกรรม ร้อยละ 53.63 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 23.21 ไม่ระบุ ร้อยละ 5.67 ประกอบกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 6.26
- ลูกจ้างภาคเอกชน/พนักงานบริษัท ร้อยละ 5.86 อื่น ๆ ร้อยละ 3.90 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.23 และ กิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย ร้อยละ 0.23
แหล่งที่มา:www.dep.go.th