สถิติคนพิการทางการได้ยิน 2564

สถานการณ์คนพิการ

รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย

สถานการณ์คนพิการ

สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย

  • - คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 2,095,205 คน (ร้อยละ 3.17 ของประชากรทั้งประเทศ)
  • - คนพิการ เพศชาย จำนวน 1,094,210 (ร้อยละ 52.22) และเพศหญิง จำนวน 1,000,995 คน (ร้อยละ 47.78)

สถานการณ์คนพิการ

ประเภทความพิการ

  • ลำดับที่ 1 ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 1,048,065 คน (ร้อยละ 50.02)
  • ลำดับที่ 2 ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 392,359 คน (ร้อยละ 18.73)
  • ลำดับที่ 3 ทางการเห็น จำนวน 188,474 คน (ร้อยละ 9.00)
  • ลำดับที่ 4 ทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 164,230 คน (ร้อยละ 7.84)
  • ลำดับที่ 5 ทางสติปัญญา จำนวน 143,368 คน (ร้อยละ 6.84)
  • ลำดับที่ 6 พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 143,368 คน (ร้อยละ 5.91)
  • ลำดับที่ 7 ออทิสติก จำนวน 16,783 คน (ร้อยละ 0.80)
  • ลำดับที่ 8 ทางการเรียนรู้ จำนวน 13,504 คน (ร้อยละ 0.64)
  • ลำดับที่ 9 ข้อมูลรอการยืนยัน จำนวน 4,570 คน (ร้อยละ 0.22)
    • - รวม จำนวน 2,095,205 คน (ร้อยละ 100.00)

สถานการณ์คนพิการ

วิเคราะห์ตามอายุและประเภทความพิการ

  • - คนพิการอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,160,898 คน ร้อยละ 55.41 (ของจำนวนคนพิการทั้งหมด )
  • - คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15 - 59 ปี มีจำนวน 854,997 คน ร้อยละ 40.81 (ของจำนวนคนพิการทั้งหมด )
  • - คนพิการที่มีอายุระหว่าง 15 - 59 ปี และคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.11 และร้อยละ 56.34 ของจำนวนคนพิการ อายุ 15 – 59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ตามลำดับ
  • - คนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (0 - 21 ปี) มีอัตราส่วนของคนพิการทางสติปัญญามากที่สุด จำนวน 46,201 คน คิดเป็นร้อยละ 30.39 ของจำนวนคนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (0 - 21 ปี) ทั้งหมด

สถานการณ์คนพิการ

สาเหตุความพิการ

  • อันดับที่ 1 แพทย์ไม่ระบุสาเหตุความพิการ ร้อยละ 48.28
  • อันดับที่ 2 ไม่ทราบสาเหตุ23.78
  • อันดับที่ 3 ความเจ็บป่วย/โรคอื่นๆ ร้อยละ 19.93
  • อันดับที่ 4 อุบัติเหตุ ร้อยละ 7.32
  • อันดับที่ 5 กรรมพันธุ์/ พันธุกรรม ร้อยละ 0.64
  • อันดับที่ 6 พิการแต่กำเนิด ร้อยละ 0.05

สถานการณ์คนพิการ

การศึกษาของคนพิการ

  • - คนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 44,474 คน คิดเป็นร้อยละ 2.12 (ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ) แบ่งเป็น
  • - อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียน จำนวน 2,832 คน (ร้อยละ 6.37 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
  • - คนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 27,127 คน (ร้อยละ 61.00 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
  • - และเป็นคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 14,515 คน (ร้อยละ 32.64 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
  • - คนพิการที่ได้รับการศึกษา จำนวน 1,609,369 คน คิดเป็นร้อยละ 76.81 (ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ)
โดย 5 อับดับระดับการศึกษาที่คนพิการได้รับมากที่สุด ได้แก่
  • อันดับที่ 1 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา จำนวน 1,310,442 คน (ร้อยละ 81.43)
  • อันดับที่ 2 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา จำนวน 185,504 คน (ร้อยละ 11.53)
  • อันดับที่ 3 ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา จำนวน 38,582 คน (ร้อยละ 2.40)
  • อันดับที่ 4 ระดับการศึกษา อุดมศึกษา จำนวน 25,255 คน (ร้อยละ 1.57)
  • อันดับที่ 5 ระดับการศึกษา ไม่ระบุการศึกษา จำนวน 16,855 คน (ร้อยละ 1.05)

สถานการณ์คนพิการ

คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน

    อายุ 15 - 60 ปี จำนวน 854,997 คน
  1. 1. คนพิการที่ประกอบอาชีพ จำนวน 420,335 คน ร้อยละ 49.16 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
  2. 2. คนพิการที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่แจ้งว่าไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 127,439 คน ร้อยละ 14.91 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
  3. 3. คนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (เนื่องจากพิการมากช่วยเหลือตนเองไม่ได้) จำนวน 52,993 คน ร้อยละ 6.20 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
  4. 4. คนพิการที่ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลและไม่ระบุข้อมูลด้านอาชีพ จำนวน 254,230 คน ร้อยละ 29.73 (ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด)
  5. 5. การประกอบอาชีพของคนพิการ เกษตรกรรม ร้อยละ 40.18 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.32 ไม่ระบุ ร้อยละ 16.84 ประกอบกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 4.46 ลูกจ้างภาคเอกชน/พนักงานบริษัท ร้อยละ 4.36 อื่นๆ ร้อยละ 2.75 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.82 และกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย ร้อยละ 0.27

แหล่งที่มา:www.dep.go.th