สถิติคนพิการทางการได้ยิน 2561

สถานการณ์คนพิการ

รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย

สถานการณ์คนพิการ

สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย

  • - คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 2,041,159 คน (ร้อยละ 3.08 ของประชากรทั้งประเทศ)
  • - คนพิการ เพศชาย จำนวน 1,068,145 (ร้อยละ 52.33) และเพศหญิง จำนวน 973,014 คน (ร้อยละ 47.67)

สถานการณ์คนพิการ

ประเภทความพิการ

  • ลำดับที่ 1. ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 1,015,955 คน (ร้อยละ 49.77)
  • ลำดับที่ 2. ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 375,680 คน (ร้อยละ 18.41)
  • ลำดับที่ 3. ทางการเห็น จำนวน 204,012 คน (ร้อยละ 9.99)
  • ลำดับที่ 4. ทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 151,329 คน (ร้อยละ 7.41)
  • ลำดับที่ 5. ทางสติปัญญา จำนวน 134,996 คน (ร้อยละ 6.61)
  • ลำดับที่ 6. ออทิสติก จำนวน 12,297 คน (ร้อยละ 0.60)
  • ลำดับที่ 7. ทางการเรียนรู้ จำนวน 10,133 คน (ร้อยละ 0.50)
  • - พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 128,682 คน (ร้อยละ 6.30)
  • - ข้อมูลรอการยืนยัน จำนวน 8,075 คน (ร้อยละ 0.40)

สถานการณ์คนพิการ

สาเหตุความพิการ

  • - แพทย์ไม่ระบุสาเหตุความพิการ ร้อยละ 59.75
  • - ความพิการแต่กำเนิด ร้อยละ 15.87
  • - อุบัติเหตุ ร้อยละ 11.30
  • - ภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ในภายหลัง (หลอดเลือดหัวใจตีบ/ข้อสันหลังอักเสบ/โรคติดเชื้อ/เบาหวาน/ลมชัก) ร้อยละ 7.67
  • - มากกว่า 1 สาเหตุ ร้อยละ 4.69
  • - กรรมพันธุ์ ร้อยละ 0.72

สถานการณ์คนพิการ

วิเคราะห์ตามอายุและประเภทความพิการ

  • - คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15 - 60 ปี มีจำนวน 882,576 คน (ร้อยละ 46.26)
  • - คนพิการอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,109,281 คน (ร้อยละ 51.97)
  • - คนพิการที่มีอายุระหว่าง 22 - 59 ปี และคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.04 และร้อยละ 55.58 ตามลำดับ
  • - คนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (แรกเกิด - 21 ปี) มีอัตราส่วนของคนพิการทางสติปัญญามากที่สุด ร้อยละ 29.84

สถานการณ์คนพิการ

การศึกษาของคนพิการ

  • - คนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 96,077 คน (ร้อยละ 4.71 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ) แบ่งเป็น
    • - อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียน จำนวน 6,640 คน (ร้อยละ 6.91 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
    • - เป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 33,587 คน (ร้อยละ 83.49 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
    • - และเป็นคนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 89,437 คน (ร้อยละ 93.09 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
  • - คนพิการที่ได้รับการศึกษา จำนวน 1,231,999 คน มีการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 1,167,780 คน (ร้อยละ 94.79) รองลงมาคือ
  • - มัธยมศึกษา จำนวน 25,518 คน (ร้อยละ 2.07)
  • - การศึกษานอกระบบและอื่นๆ จำนวน 16,444 คน (ร้อยละ 1.33)
  • - ต่ำกว่าประถม 8,779 คน (ร้อยละ 0.71)
  • - ระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. /ปวส. /ปวท.) จำนวน 5,179 คน (ร้อยละ 0.42)
  • - ระดับปริญญาตรี จำนวน 4,295 คน (ร้อยละ 0.35)
  • - ระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 3,273 คน (ร้อยละ 0.26)
  • - คนพิการได้รับการศึกษาระดับอนุปริญญาน้อยที่สุด จำนวน 767 คน (ร้อยละ 0.06)

สถานการณ์คนพิการ

คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน

    อายุ 15 - 60 ปี จำนวน 882,576 คน
  1. - คนพิการในวัยทำงานที่ประกอบอาชีพ จำนวน 218,392 คน (ร้อยละ 24.74)
  2. - คนพิการในวัยทำงานที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 156,905 คน (ร้อยละ 17.78)
  3. - คนพิการในวัยทำงานที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (เนื่องจากพิการมากช่วยเหลือตนเองไม่ได้) จำนวน 59,712 คน (ร้อยละ 6.77)
  4. - คนพิการที่ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลด้านอาชีพ จำนวน 447,567 คน (ร้อยละ 50.71)
  5. - การประกอบอาชีพของคนพิการ อื่นๆ/ไม่ระบุ ร้อยละ 37.83 เกษตรกรรม ร้อยละ 25.79 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 24.66 ประกอบกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 6.67 ลูกจ้างภาคเอกชน ร้อยละ 4.69 และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.36

แหล่งที่มา:www.dep.go.th