รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย
สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย
- - คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1,802,375 คน (ร้อยละ 2.72 ของประชากรทั้งประเทศ)
- - คนพิการ เพศชาย จำนวน 951,199 (ร้อยละ 52.77) และเพศหญิง จำนวน 851,176 คน (ร้อยละ 47.23)
สาเหตุความพิการ
- - ภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ในภายหลัง (ความดันโลหิตสูง/หลอดเลือดหัวใจตีบ/ข้อสันหลังอักเสบ/โรคติดเชื้อ/เบาหวาน/ลมชัก) ร้อยละ 34.24
- - ความพิการแต่กาเนิด ร้อยละ 18.71
- - อุบัติเหตุ ร้อยละ 15.61 - พันธุกรรม ร้อยละ 0.45
- - มากกว่า 1 สาเหตุ ร้อยละ 1.76
- - แพทย์ไม่ระบุสาเหตุความพิการ ร้อยละ 29.23
- - พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 128,682 คน (ร้อยละ 6.30)
- - ข้อมูลรอการยืนยัน จำนวน 8,075 คน (ร้อยละ 0.40)
ประเภทความพิการ
- - ลาดับที่ 1. ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 878,888 คน (ร้อยละ 48.76)
- - ลำดับที่ 2. ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 329,437 คน (ร้อยละ 18.28)
- - ลำดับที่ 3. ทางการเห็น จำนวน 188,050 คน (ร้อยละ 10.43)
- - ลำดับที่ 4. ทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 133,361 คน (ร้อยละ 7.40)
- - ลำดับที่ 5. ทางสติปัญญา จำนวน 125,738 คน (ร้อยละ 6.98)
- - ลำดับที่ 6. ทางการเรียนรู้ จำนวน 10,217 คน (ร้อยละ 0.57)
- - ลำดับที่ 7. ออทิสติก จำนวน 8,345 คน (ร้อยละ 0.46)
- - พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 117,164 คน (ร้อยละ 6.50)
- - ข้อมูลรอการยืนยัน จำนวน 11,175 คน (ร้อยละ 0.62)
วิเคราะห์ตามอายุและประเภทความพิการ
- - คนพิการที่อยู่ในวัยทางาน อายุระหว่าง 15 - 60 ปี มีจำนวน 802,058 คน (ร้อยละ 44.5)
- - คนพิการอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 918,407 คน (ร้อยละ 50.96)
- - คนพิการที่มีอายุระหว่าง 22 - 59 ปี และคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.67 และร้อยละ 51.92 ตามลาดับ
- - คนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา (แรกเกิด - 21 ปี) มีอัตราส่วนของคนพิการทางสติปัญญามากที่สุด ร้อยละ 23.67
การศึกษาของคนพิการ
- - คนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 607,960 คน (ร้อยละ 33.73 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ) แบ่งเป็น
- - อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียน จำนวน 3,126 คน (ร้อยละ 0.51 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - เป็นผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 294,495 คน (ร้อยละ 48.44 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - และเป็นคนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 310,339 คน (ร้อยละ 51.05 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)
- - คนพิการที่ได้รับการศึกษา จำนวน 1,194,415 คน มีการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 989,347 คน (ร้อยละ 54.9) รองลงมาคือ
- - ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 133,763 คน (ร้อยละ 7.42)
- - ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. /ปวส. /ปวท.) จำนวน 25,095 คน (ร้อยละ 1.4)
- - ระดับปริญญาตรี จำนวน 15,932 คน (ร้อยละ 0.88)
- - ระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 2,370 คน (ร้อยละ 0.13)
- - คนพิการได้รับการศึกษาระดับอนุปริญญาน้อยที่สุด จำนวน 2,557 คน (ร้อยละ 0.14)
- - และเป็นคนพิการได้รับการศึกษานอกระบบจำนวน 25,351 คน (ร้อยละ 1.4)
คนพิการที่อยู่ในวัยทางาน
- อายุ 15 - 60 ปี จำนวน 802,058 คน
- 1.คนพิการในวัยทางานที่ประกอบอาชีพ จำนวน 227,924 คน (ร้อยละ 28.42)
- 2.คนพิการในวัยทางานที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 455,990 คน (ร้อยละ 56.85)
- 3.คนพิการในวัยทางานที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (เนื่องจำกพิการมากช่วยเหลือตนเองไม่ได้) จำนวน 118,144 คน (ร้อยละ 14.73)
- 4.การประกอบอาชีพของคนพิการ เกษตรกรรม ร้อยละ 39.04 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 39.28 ประกอบกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 7.33ลูกจ้างภาคเอกชน ร้อยละ 7.21 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.2 และประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น หาของป่า,เก็บของเก่าขาย ร้อยละ 5.94
แหล่งที่มา:www.dep.go.th