top of page
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ติดต่อสอบถามกับทางสมาคม
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ติดต่อสอบถามกับทางสมาคม
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 102501/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ติดต่อสอบถามกับทางสมาคม
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ติดต่อสอบถามกับทางสมาคม
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 102501/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
หมายเหตุ: ติดต่อ Line ได้ในวันทำการเท่านั้น
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
การบริหารงานของสมาคมฯ
การบริหารงานของสมาคมฯ
สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยคณะกรรมการ ซึ่งนายกสมาคม มาจากการเลือกตั้งของผู้แทนชมรมคนหูหนวกระดับจังหวัด จังหวัดละ 2 คน คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 7 คน และอย่างมากไม่เกิน 19 คน โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงานและควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ ให้เป็นผู้รับผิดชอบและปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองนโยบาย และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ในสมาคม โดยแบ่งทั้งหมดเป็น 11 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายเข้าสิ่งอำนวยความสะดวก
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ฝ่ายการศึกษา
3. ฝ่ายส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ
4. ฝ่ายเด็ก เยาวชน และครอบครัว
5. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาองค์กร
6. ฝ่ายภาษามือและล่ามภาษามือ
7. ฝ่ายเครือข่าย
8. ฝ่ายการศึกษา
9. ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน
10. ฝ่ายทะเบียน
11. กลั่นกรองโครงการ
คลิปวิดีโอ
กลุ่มเป้าหมาย
สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยมีเครือข่ายประจำจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด 4 องค์กรเครือข่ายประจำภาค 5 องค์กรอื่นใด และมีสมาชิกของสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย จัดให้มีบริการครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1. สมาชิกคนหูหนวกทั่วประเทศ
2. คนหูหนวกที่จดทะเบียนคนพิการทุกคน
3. องค์กรคนพิการทั้งในและต่างประเทศ
4. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาภาษามือไทย
6. ศูนย์มีเดียคนหูหนวกไทย
7. ศูนย์บริการการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกและหูตึง
8. ศูนย์บริการคนหูหนวกแห่งชาติ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย
การดำเนินงานของสมาคมฯ
แบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายล่ามภาษามือ
ล่ามภาษามือคือบุคคลที่ช่วยคนหูหนวกในการสื่อสาร โดยการแปลจากภาษามือเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนในกรณีต่างๆ ขณะนี้ สมาคมฯ มีล่ามภาษามือประจำ 3 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการคนหูหนวกทั่วประเทศ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิคคนพิการแห่งชาติ (พก.) จัดให้มีการจดทะเบียนล่ามภาษามือที่อยู่ในประเทศไทย และมีการจัดสรรงบประมาณการบริการล่ามภาษามือให้กับจังหวัดต่างๆ ผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สำหรับในกรุงเทพฯ กำหนดให้สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานจัดบริการล่ามภาษามือในพื้นที่กรุงเทพฯ
2. ฝ่ายบริการสมาชิก
สมาคมฯ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแก่คนหูหนวก และยังให้ความช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ โดยงานของฝ่ายบริการสมาชิก มีดังนี้
2.1 จัดทำทะเบียนสมาชิก รับสมัครและทำบัตรสมาชิก
2.2 บริการจัดหางาน
2.3 บริการล่ามภาษามือช่วยในการสื่อสารในกรณีต่างๆ เช่น พบแพทย์, พบตำรวจ เป็นต้น
2.4 จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก เช่น ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
2.5 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่คนหูหนวก โดยผ่านจุลสารสายใยโลกเงียบ, วีดีโอข่าว และจัดประชุมสมาชิก
2.6 บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่คนหูหนวกและครอบครัวคนหูหนวกที่มีปัญหา
3. ฝ่ายศิลป์/วีดีโอ
ลักษณะงานเป็นการผลิตสื่อศิลป์ประเภทสิ่งพิมพ์และวีดีโอภาพเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของคนหูหนวก เช่น การบันทึกการประชุม, สัมมนา การจัดทำวีดีโอข่าวภาษามือเพื่อเผยแพร่แก่คนหูหนวกทั่วไป
4. ฝ่ายภาษามือ
4.1 การดำเนินงานเผยแพร่ภาษามือไทยขั้นพื้นฐาน มีวิทยากรคนหูหนวกที่มีความเชี่ยวชาญสอนภาษามือ เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่จัดโครงการสอนภาษามือให้กับบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ
4.2 ค้นคว้าและวิจัยภาษามือ เนื่องด้วยคน
หูหนวกที่มาจากแต่ละกลุ่ม จะมีความยากลำบากในการติดต่อสื่อสาร เพราะภาษามือที่ใช้มีความแตกต่างกันแล้วแต่ภูมิภาค สถาบันการศึกษาบางหน่วยงานก็นำภาษามือจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดมาตรฐานทางภาษามือในการสื่อสารกันได้ในประเทศ จึงทำให้เกิดการค้นคว้าและวิจัยภาษามือขึ้น โดยใช้ข้อมูลของภาษาท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษามือและภาษาสีหน้าท่าทาง การวิจัยทำโดยคนหูหนวก ซึ่งจะเข้าใจความรู้สึกและยอมรับท่าทางแสดงความหมายแต่ละคำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันได้ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชสุดาในการเข้าร่วมสัมมนาคำศัพท์ภาษามือ เช่น ภาษาทางสังคม ภาษามือทางด้านอาชีพ ภาษามือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5. ฝ่ายฝึกอาชีพ (ปัจจุบันหยุดทำการ)
สมาคมฯ ได้ก่อตั้งสถาบันฝึกอาชีพคนหูหนวกขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านวิชาชีพแก่คน
หูหนวกที่ไม่ได้รับการศึกษา โดยคนหูหนวกที่มีความรู้ความสามารถในงานช่างไม้ งานวาดภาพ งานตัดเย็บเสื้อผ้า ซิลค์สกรีน เป็นต้น ปัจจุบัน สถาบันฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น “ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาคนหูหนวก” ภายใต้การดำเนินงานของสมาคมฯ นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังจัดส่งสมาชิกคนหูหนวกเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยพิจารณาจากความต้องการและความเหมาะสมของคนหูหนวกเป็นหลัก ขณะนี้ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาคนหูหนวกได้หยุดทำการลงแล้ว เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดหาทุน
6. ฝ่ายการแสดง (ปัจจุบันหยุดทำการ แต่อาจรวมตัวแบบเฉพาะกิจ)
โครงการส่งเสริมกลุ่มนักแสดงคนหูหนวก จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำศิลปะการแสดงของคนหูหนวก เป็นสื่อนำความรู้และความบันเทิงสู่ชุมชน ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างคนหูหนวกกับคนทั่วไปแล้ว ยังส่งเสริมอาชีพและรายได้ของคนหูหนวกอีกด้วย ปัจจุบันการดำเนินงานของกลุ่มนักแสดงไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปัญหางบประมาณสนับสนุนและขาดการฝึกซ้อมร่วมแสดง อันเนื่องมาจากต้องประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง
กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการ
1. สมาชิกคนหูหนวกทั่วประเทศไทย
2. โรงเรียนสอนคนหูหนวก
3. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4. องค์กรคนพิการทั้งในและต่างประเทศ
5. ครอบครัวคนหูหนวก
6. คนหูหนวกที่จดทะเบียนคนพิการทุกคน
แหล่งเงินทุน / ทรัพยากร
1. รายได้ค่าบำรุงสมาชิก
2. รายได้จากการจำหน่ายสลากการกุศลของ
คนหูหนวก
3. เงินสนับสนุนจากโครงการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4. เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาและองค์กรเอกชน
5. มูลนิธิช่วยเหลือคนพิการระหว่างประเทศสวีเดน SWEDISH ORGANISATION OF HANDICAPPED INTERNATIONAL AID FOUNDATION (SHIA) และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสวีเดน SWEDISH ASSOCIATION OF THE DEAF (SDR) (ปัจจุบันความช่วยเหลือได้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาของโครงการ)
แนวทาง/แผนงานพัฒนา
1. โครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่ภาษามือไทย (Publishing and Publicizing Thai Sign Language Books) ปัจจุบันคนหูหนวกมีปัญหาในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ดี และมีคนทั่วไปน้อยมากที่สามารถสื่อสารกับคนหูหนวกด้วยภาษามือ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการขาดแคลนล่ามภาษามือที่จะช่วยคนหูหนวกในการเข้ารับการบริการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ภาษามือไทยได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ในชุมชน และลดช่องว่างระหว่างคนหูหนวกและคนทั่วไปในการสื่อสาร สมาคมฯ จึงทำโครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือภาษามือไทย เพื่อใช้ในการเผยแพร่และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้สำหรับคนทั่วไป คนหูหนวกที่ไม่รู้หนังสือ ครอบครัวคนหูหนวกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนหูหนวก โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี (พ.ศ. 2541-2543) และได้เสนอโครงการขอรับการสนับสนุนและความร่วมมือจากสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Federation of the Deaf)
2. โครงการพัฒนาผู้นำคนหูหนวกโลก (World Deaf Leadership Program) (ปัจจุบันหยุดโครงการแล้ว) เป็นโครงการต่อเนื่องระยะเวลา 3 ปี โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกาลาเดท วิทยาลัยราชสุดา และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และได้รับทุนสนับสนุนโครงการฯ จากมูลนิธินิปปอน ประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและสนับสนุนผู้นำคนหูหนวกในประเทศไทยให้สามารถเข่าร่วมกิจกรรมกับชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งสามารถฝึกอบรมด้านวิชาชีพให้กับกลุ่มคนหูหนวกอื่นๆ
คลิปวิดีโอ
โครงการ/ผลงานที่ดำาเนินการเป็นประจำทุกปี
1. ประชุมใหญ่สามัญประจําปีของสมาคมคนหูหนวกและเครือข่ายทั่วประเทศ
2. โครงการประชุมวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพคนหูหนวก
3. ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มสมาชิกคนหูหนวกประจําภูมิภาค/ ชมรมคนหูหนวกประจําจังหวัด และองค์กรคนหูหนวก
4. อบรมภาษามือไทยให้กับคนหูหนวก ผู้ปกครอง ครอบครัว หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
5. โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านต่างๆ อาทิ ความรู้ด้านสิทธิ สวัสดิการ และกฎหมายแก่คนหูหนวกและครอบครัวทั่วประเทศ
6. อบรมพัฒนาผู้นําคนหูหนวกทั่วประเทศ
7. อบรมพัฒนาผู้นําสตรีหูหนวกทั่วประเทศ
8. อบรมพัฒนาด้าน ICT และเทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับคนหูหนวก เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การพัฒนา การรู้เท่าทันสื่อ เป็นต้น
9. อบรมการส่งเสริมอาชีพอิสระให้กับคนหูหนวกและสมาชิก
10. ผลิตสื่อวิดีทัศน์ภาษามือไทย
11. ผลิตหนังสือภาษามือไทย
12. จัดบริการล่ามภาษามือให้กับสมาชิก องค์กรภาครัฐ เอกชน และคนหูหนวก
การบริจาคเงินเพื่อสนับสนุน
ท่านที่ประสงค์จะบริจาคเงินสมทบทุนกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น สามารถติดต่อสมาคมตามที่อยู่ดังกล่าว หรือโทรศัพท์ 0 2012 7459
อีเมล์ nadt.info@gmail.com
โดยบริจาคเป็น
• เงินสด
• เช็คขีดคร่อมในนาม “สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย”
• โอนผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี “สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย” สาขาคลองตัน ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 02802-60253-9
และแจ้งความประสงค์ในการบริจาคพร้อมรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ เพื่อสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยจะทำการออกใบเสร็จให้ท่าน ทั้งนี้ใบเสร็จฯ ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
bottom of page