top of page
NADT-PNG.png

NATIONAL ASSOCIATION OF THE DEAF IN THAILAND

Administration of the Association

Administration of the Association
The Association of the Deaf of Thailand is managed by a committee, in which the president of the association is elected by representatives of the provincial deaf clubs, with 2 people per province. The association's executive committee consists of at least 7 and no more than 19 members, with a term of office of 4 years. The association's executive committee has the power and duty to set operating policies and supervise staff to be responsible and perform their duties to respond to policies and coordinate with staff in various departments of the association, divided into 11 departments as follows:
1. Facilities Access Division
and information technology
2. Education Department
3. Career Promotion and Employment Division
4. Children, Youth and Family Department
5. Organization Promotion and Development Division
6. Sign Language and Sign Language Interpreter Department
7. Network department
8. Department of Education
9. Complaint Department
10. Registration Department
11. Project screening

Video clips

Target group
The Thai Deaf Association has a network of 77 provinces, 4 regional network organizations, 5 other organizations, and members of the Thai Deaf Association, providing services covering the following groups:
1. Deaf members nationwide
2. All deaf people who are registered as disabled persons
3. Organizations of disabled people both domestically and internationally
4. Relevant government and private sector agencies
5. Thai Sign Language Research and Development Center
6. Thai Deaf Media Center
7. Information and Communication Access Center for the Deaf and Hard of Hearing
8. National Deaf Service Center, Deaf Association of Thailand

การดำเนินงานของสมาคมฯ
แบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ฝ่ายล่ามภาษามือ
ล่ามภาษามือคือบุคคลที่ช่วยคนหูหนวกในการสื่อสาร โดยการแปลจากภาษามือเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนในกรณีต่างๆ ขณะนี้ สมาคมฯ มีล่ามภาษามือประจำ 3 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการคนหูหนวกทั่วประเทศ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิคคนพิการแห่งชาติ (พก.) จัดให้มีการจดทะเบียนล่ามภาษามือที่อยู่ในประเทศไทย และมีการจัดสรรงบประมาณการบริการล่ามภาษามือให้กับจังหวัดต่างๆ ผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สำหรับในกรุงเทพฯ กำหนดให้สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานจัดบริการล่ามภาษามือในพื้นที่กรุงเทพฯ

2. ฝ่ายบริการสมาชิก
สมาคมฯ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแก่คนหูหนวก และยังให้ความช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ โดยงานของฝ่ายบริการสมาชิก มีดังนี้
2.1   จัดทำทะเบียนสมาชิก รับสมัครและทำบัตรสมาชิก
2.2   บริการจัดหางาน
2.3   บริการล่ามภาษามือช่วยในการสื่อสารในกรณีต่างๆ เช่น พบแพทย์, พบตำรวจ เป็นต้น
2.4   จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก เช่น ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
2.5   เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่คนหูหนวก โดยผ่านจุลสารสายใยโลกเงียบ, วีดีโอข่าว และจัดประชุมสมาชิก
2.6   บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่คนหูหนวกและครอบครัวคนหูหนวกที่มีปัญหา

3. ฝ่ายศิลป์/วีดีโอ
ลักษณะงานเป็นการผลิตสื่อศิลป์ประเภทสิ่งพิมพ์และวีดีโอภาพเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของคนหูหนวก เช่น การบันทึกการประชุม, สัมมนา การจัดทำวีดีโอข่าวภาษามือเพื่อเผยแพร่แก่คนหูหนวกทั่วไป

4. ฝ่ายภาษามือ
4.1   การดำเนินงานเผยแพร่ภาษามือไทยขั้นพื้นฐาน มีวิทยากรคนหูหนวกที่มีความเชี่ยวชาญสอนภาษามือ เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่จัดโครงการสอนภาษามือให้กับบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ
4.2   ค้นคว้าและวิจัยภาษามือ เนื่องด้วยคน
หูหนวกที่มาจากแต่ละกลุ่ม จะมีความยากลำบากในการติดต่อสื่อสาร เพราะภาษามือที่ใช้มีความแตกต่างกันแล้วแต่ภูมิภาค สถาบันการศึกษาบางหน่วยงานก็นำภาษามือจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดมาตรฐานทางภาษามือในการสื่อสารกันได้ในประเทศ จึงทำให้เกิดการค้นคว้าและวิจัยภาษามือขึ้น โดยใช้ข้อมูลของภาษาท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษามือและภาษาสีหน้าท่าทาง การวิจัยทำโดยคนหูหนวก ซึ่งจะเข้าใจความรู้สึกและยอมรับท่าทางแสดงความหมายแต่ละคำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันได้ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชสุดาในการเข้าร่วมสัมมนาคำศัพท์ภาษามือ เช่น ภาษาทางสังคม ภาษามือทางด้านอาชีพ ภาษามือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

5. ฝ่ายฝึกอาชีพ (ปัจจุบันหยุดทำการ)
สมาคมฯ ได้ก่อตั้งสถาบันฝึกอาชีพคนหูหนวกขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านวิชาชีพแก่คน
หูหนวกที่ไม่ได้รับการศึกษา โดยคนหูหนวกที่มีความรู้ความสามารถในงานช่างไม้ งานวาดภาพ งานตัดเย็บเสื้อผ้า ซิลค์สกรีน เป็นต้น ปัจจุบัน สถาบันฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น “ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาคนหูหนวก” ภายใต้การดำเนินงานของสมาคมฯ นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังจัดส่งสมาชิกคนหูหนวกเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยพิจารณาจากความต้องการและความเหมาะสมของคนหูหนวกเป็นหลัก ขณะนี้ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาคนหูหนวกได้หยุดทำการลงแล้ว เนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดหาทุน

6. ฝ่ายการแสดง (ปัจจุบันหยุดทำการ แต่อาจรวมตัวแบบเฉพาะกิจ)
โครงการส่งเสริมกลุ่มนักแสดงคนหูหนวก จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำศิลปะการแสดงของคนหูหนวก เป็นสื่อนำความรู้และความบันเทิงสู่ชุมชน ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างคนหูหนวกกับคนทั่วไปแล้ว ยังส่งเสริมอาชีพและรายได้ของคนหูหนวกอีกด้วย ปัจจุบันการดำเนินงานของกลุ่มนักแสดงไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปัญหางบประมาณสนับสนุนและขาดการฝึกซ้อมร่วมแสดง อันเนื่องมาจากต้องประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการ
1. สมาชิกคนหูหนวกทั่วประเทศไทย
2. โรงเรียนสอนคนหูหนวก
3. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4. องค์กรคนพิการทั้งในและต่างประเทศ
5. ครอบครัวคนหูหนวก
6. คนหูหนวกที่จดทะเบียนคนพิการทุกคน

แหล่งเงินทุน / ทรัพยากร
1. รายได้ค่าบำรุงสมาชิก
2. รายได้จากการจำหน่ายสลากการกุศลของ
คนหูหนวก
3. เงินสนับสนุนจากโครงการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4. เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาและองค์กรเอกชน
5. มูลนิธิช่วยเหลือคนพิการระหว่างประเทศสวีเดน SWEDISH ORGANISATION OF HANDICAPPED INTERNATIONAL AID FOUNDATION (SHIA) และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสวีเดน SWEDISH ASSOCIATION OF THE DEAF (SDR) (ปัจจุบันความช่วยเหลือได้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาของโครงการ) 

แนวทาง/แผนงานพัฒนา
1. โครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่ภาษามือไทย (Publishing and Publicizing Thai Sign Language Books) ปัจจุบันคนหูหนวกมีปัญหาในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ดี และมีคนทั่วไปน้อยมากที่สามารถสื่อสารกับคนหูหนวกด้วยภาษามือ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการขาดแคลนล่ามภาษามือที่จะช่วยคนหูหนวกในการเข้ารับการบริการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ภาษามือไทยได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ในชุมชน และลดช่องว่างระหว่างคนหูหนวกและคนทั่วไปในการสื่อสาร สมาคมฯ จึงทำโครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือภาษามือไทย เพื่อใช้ในการเผยแพร่และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้สำหรับคนทั่วไป คนหูหนวกที่ไม่รู้หนังสือ ครอบครัวคนหูหนวกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนหูหนวก โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี (พ.ศ. 2541-2543) และได้เสนอโครงการขอรับการสนับสนุนและความร่วมมือจากสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Federation of the Deaf) 
2. โครงการพัฒนาผู้นำคนหูหนวกโลก (World Deaf Leadership Program) (ปัจจุบันหยุดโครงการแล้ว) เป็นโครงการต่อเนื่องระยะเวลา 3 ปี โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกาลาเดท วิทยาลัยราชสุดา และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และได้รับทุนสนับสนุนโครงการฯ จากมูลนิธินิปปอน ประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและสนับสนุนผู้นำคนหูหนวกในประเทศไทยให้สามารถเข่าร่วมกิจกรรมกับชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งสามารถฝึกอบรมด้านวิชาชีพให้กับกลุ่มคนหูหนวกอื่นๆ 

Video clips

Projects/works carried out annually
1. Annual General Meeting of the Deaf Association and Networks Nationwide
2. Academic conference project on the development of the potential of deaf people
3. Promote and develop the strength of the regional deaf member groups/provincial deaf clubs and deaf organizations.
4. Training in Thai sign language for deaf people, parents, families, government and private agencies, students, and interested persons.
5. Training projects to enhance knowledge in various areas, such as knowledge of rights, welfare, and laws for deaf people and their families nationwide.
6. Training and development of deaf leaders nationwide
7. Training for deaf women leaders nationwide
8. Training in ICT and information technology development for the deaf, such as basic computer programs, development, media literacy, etc.
9. Training to promote independent careers for deaf people and members
10. Production of Thai sign language video media
11. Produce Thai sign language books.
12. Provide sign language interpreter services to members of government and private organizations and deaf people.

Donate money to support
Those who wish to donate money to support the activities mentioned above can contact the association at the above address or call 0 2012 7459.
Email nadt.info@gmail.com
By donating as
• cash
• Crossed check in the name of “Thai Deaf Association”
• Transfer via Siam Commercial Bank, account name “Thai Deaf Association”, Khlong Tan branch, savings account, account number 02802-60253-9
And please inform us of your intention to donate with details such as name, address, telephone number, and email so that the Thai Deaf Association can issue you a receipt. However, the receipt cannot be used for tax deduction.

bottom of page